Acyclovir คืออะไร
Acyclovir คือยาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ช่วยชะลอการเติบโต และแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ (Herpes Virus) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเริม งูสวัด และโรคอีสุกอีใส เป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และไม่ควรใช้เป็ยระยะเวลานานเกินไป เนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียง สตรีมีครรภ์สามารถใช้รักษาอาการได้ แต่สตรีที่กำลังให้นมบุตรควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการรักษา
ตัวอย่างยา acyclovir ที่พบในท้องตลาด
ยาอะไซโคลเวียร์ คือชื่อสามัญของยาที่มีชื่อทางการค้า ดังนี้ Acyvir, A.C.V., Azovax, Clinovir, Clovin, Clovira, Colsor, Covir, Cyclorax, Declovir, Entir, Falerm, Vivir, Vizo, Zevin, Zocovin, zovirax เป็นต้น
acyclovir ใช้รักษาโรคใดบ้าง
- ใช้บรรเทาอาการ และช่วยให้การรักษาแผล หรือตุ่มน้ำพอง ในผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส หรือผู้ป่วยโรคงูสวัดหายเร็วขึ้น
- ใช้รักษาเริมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ตา จมูก ริมฝีปาก หรืออวัยวะเพศ รักษาได้ทั้งผู้ป่วยที่เป็นครั้งแรก หรือผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำ
- ใช้รักษาภาวะอักเสบจากโรคผิวหนังในลักษณะของผื่นแดง
- ใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคแฮรีลิวโคพลาเกีย (Hairy leukoplakia)
อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการรักษาของ acyclovir dose อาจลดลง เนื่องจากไวรัสที่ก่อโรคบางสายพันธุ์เกิดการดื้อยาได้ ภาวะดื้อยาสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในร่ายกายของผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง หรืออ่อนแอก็ได้
รูปแบบยา acyclovir
- ยาเม็ด มีขนาดของยา 200, 400 และ 800 มิลลิกรัม
- ยาแคปซูล
- ยาน้ำ
- ยาครีม มีความเข้มข้น 5%
- ยาแบบขี้ผึ้ง มีความเข้มข้น 3%
- ยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด มีขนาดความเข้มข้น 25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
ยา acyclovir แบบรับประทานนั้น ร่างกายสามารถดูดซึมตัวยาได้ประมาณ 15-30% เท่านั้น ดังนั้นหากต้องการให้ระดับความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดสูงขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาแบบฉีดเข้าหลอดเลือด
สรรพคุณของยาอะไซโคเวีย
acyclovir คือยาต้านไวรัสที่มักถูกใช้ป้องกันและรักษาโรคเริม (Herpes simplex) ที่แสดงอาการตามอวัยวะต่าง ๆ ทั้งริมฝีปาก อวัยวะเพศ หรือแม้แต่บริเวณเยื่อหุ้มสมอง (ไวรัสเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) และใช้เพื่อการรักษาและบรรเทาอาการของโรคงูสวัด (Herpes zoster) และโรคอีสุกอีใส (Chicken pox) ด้วย
นอกจากนี้ยังใช้รักษาโรค Eczema herpeticum และโรคฝ้าขาวที่ข้างลิ้น (Hairy leukoplakia) ด้วย
กรณีต้องการใช้ยานี้รักษาโรคหรืออาการอื่น ๆ ควรสอบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
การใช้ยา acyclovir
acyclovir ยาที่ใช้ภายใต้คำแนะนำ และใบสั่งของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรใช้ยาในปริมาณที่มากหรือน้อยกว่าที่แพทย์กำหนด ยานี้สามารถใช้ได้ทันทีที่เกิดอาการของโรคจากไวรัส เช่นเกิดตุ่มน้ำ รู้สึกแสบร้อน หรือเจ็บแปลบ ๆ เหมือนเข็มตำที่ผิวหนัง
ปริมาณการใช้ยานั้น แพทย์จะพิจารณาจากน้ำหนักตัวของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเปลี่ยนควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อปรับปริมาณยาให้เหมาะสม ในระหว่างการใช้ยา ผู้ป่วยควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อสนับสนุนให้ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
ควรใช้ยาที่แพทย์กำหนดให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย เพราะบางครั้งแม้ว่าอาการของโรคจะดีขึ้น แต่ก็อาจมีเชื้อหลงเหลืออยู่ได้ และมีโอกาสที่จะเป็นซ้ำได้ จึงต้องรับประทานยาให้ครบ นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยารักษาการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ เช่นไข้หวัด เป็นต้น
acyclovir ยาที่สามารถใช้ได้กับสตรีมีครรภ์ แต่ก่อนใช้ยาผู้ป่วยต้องรับทราบประโยชน์ และความเสี่ยงของการใช้ยาที่มีต่อทารกในครรภ์ด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้เปรียบเทียบและประกอบการตัดสินใจ กรณีสตรีที่กำลังให้นมบุตร แนะนำให้หลีกเลี่ยง เพราะตัวยาชนิดนี้สามารถปนเปื้อนไปกับน้ำนมแม่ได้
การเก็บรักษายาควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ไม่สัมผัสความชื้น และความร้อน หากพบว่ายามีลักษณะที่ผิดปกติ ควรหยุดใช้และไปพบแพทย์ในทันที
ข้อควรระวังในการใช้ยา acyclovir
- ห้ามใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาชนิดนี้ หรือยาในกลุ่มเดียวกัน เช่นยาวาลาไซโคลเวียร์
- ห้ามแบ่งยากับผู้อื่น
- ห้ามใช้ หรือกินยาที่หมดอายุ
- ควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่กำลังให้นมบุตร และผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับ หรือไตบกพร่อง
acyclovir side effect
- ท้องเสีย หรือท้องร่วง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดหัว
- วิงเวียนศีรษะ
- เหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า
- ปวดตามกล้ามเนื้อ หรือข้อ
- การมองเห็นมีปัญหา
- น้ำคั่งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ผมร่วง
- งุนงง สับสน
- พฤติกรรมมีความเปลี่ยนแปลงบางประการ
ผลข้างเคียงรุนแรงที่ควรไปพบแพทย์ทันที
- ผื่นขึ้นเป็นจำนวนมาก เกิดลมพิษ หรือมีผื่นในลักษณะตุ่มน้ำ และแผลถลอก
- ผิวหนัง หรือดวงตากลายเป็นสีเหลือง
- มีเลือดออกมากผิดปกติ หรือรอยฟกช้ำตามร่างกาย
- ภาวะชักเกร็ง
- หมดสติ
- บวมตามใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น
- หายใจลำบาก
- ปัสสาวะลดลง หรือมีเลือดปะปนในปัสสาวะ
- ง่วงนอนอย่างรุนแรง หรือเกิดภาวะสับสน
- เห็นภาพหลอน
- เหน็บชา และเดินเซ
ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อาจเกิดผลข้างเคียงจากยาอะไซโคเวียอาจเพิ่มมากขึ้น และมักมีปัญหาที่ไตเพราะไตไม่สามารถกำจัดยาได้ดีเท่ากับผู้ที่อายุยังน้อย แนะนำให้รปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-941/acyclovir-oral/details
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a681045.html
- https://www.nhs.uk/medicines/aciclovir/
No Responses