อาการโดยภาพรวมของการเวียนหัว
เวียนหัว (Dizziness) คือ อาการเวียนหัวเกิดจากความรู้สึกที่มึนหัว คลื่นไส้ หรือรู้สึกว่าร่างกายไม่สมดุล ซึ่งส่งผลต่อระบบอวัยวะภายใน โดยเฉพาะดวงตาและหู และบางครั้งก็เกิดอาการหน้ามืดร่วมด้วย อาการเวียนหัวนี้ไม่ใช่โรค แต่มันคืออาการที่แสดงถึงการป่วยของโรคหลายโรคได้
อาการบ้านหมุนและความไม่สมดุลในร่างกาย อาจเป็นสาเหตุที่เกิดอาหารเวียนหัว แต่สองอาการนี้มีลักษณะที่ต่างกัน อาการบ้านหมุนมีลักษณะอาการที่มีการหมุนหรือโคลงเคลงเหมือนกับห้องกำลังเคลื่อนย้าย
นอกจากนั้นยังมีอาการที่เหมือนรู้สึกป่วยหรือมึนเมาหรือถ้าคุณมีลักษณะเอียงเอนทางร่างกายไปข้างใดข้างหนึ่ง อาการเวียนศีรษะนั้นเป็นการสูญเสียความสมดุลในร่างกาย อาการเวียนหัวที่แท้จริงนั้นมีอาการวิงเวียนศีรษะและจะมีอาการหน้ามืดร่วมด้วย
อาการวิงเวียนศีรษะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงมาก และไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวล แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเวียนศีรษะที่รุนแรงขึ้นหรือเกิดการเวียนหัวซ้ำหลายครั้งโดยไม่มีสาเหตุ คุณควรปรึกษาแพทย์โดยทันที
อาการเวียนศีรษะจากกรณีส่วนใหญ่นั้นสามารถรักษาหายเองได้ แต่ในบางกรณีที่พบน้อยนั้น สามารถเป็นสัญญาณเตือนเรื่องปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากกว่านั้นได้
อาการวิงเวียนศีรษะอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นลมหรือเสียสมดุล ซึ่งอาจเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนขับรถหรือใช้งานเครื่องจักรหนักที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก หากคุณรู้สึกว่ามีอาการเวียนศีรษะขึ้นมา ให้หยุดขับรถทันทีหรือหาสถานที่ที่ปลอดภัยเพื่อให้ตัวเองมั่นคงจนกว่าอาการเวียนศีรษะจะดีขึ้น
อาการเวียนศีรษะ
คนที่มีอาการเวียนศีรษะอาจจะมีอาการหลายอย่าง รวมถึงอาการต่อไปนี้:
- ความไม่แน่นอนของสมดุลในร่างกาย
- รู้สึกถึงการหมุนที่ผิดปกติ
- การสูญเสียสมดุลในร่างกาย
- มีอาการมึนหัวหรือรู้สึกหน้ามืด
- รู้สึกว่าตัวลอยเหมือนกำลังว่ายน้ำ
อาการเวียนศีรษะนั้นบางครั้งก็มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน(vomit) หรือรู้สึกจะเป็นลมร่วมอยู่ด้วย หากคุณมีอาการข้างต้นเป็นระยะเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
สาเหตุอาการเวียนหัว
อาการเวียนหัวเกิดจากอะไร สาเหตุอาการเวียนหัวที่พบได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นโรคไมเกรน การใช้ยาบางชนิด และแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดสาเหตุที่ภายในหูนั้นมีปัญหา ที่ควบคุมความสมดุลในร่างกายได้
การเวียนหัวแบบบ้านหมุนก็เกิดมาจากอาการเวียนศีรษะได้เช่นเดียวกัน สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการเวียนหัวแบบบ้านหมุนคืออาการวิงเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนที่ไม่รุนแรง(BPV) อาการเวียนศีรษะนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น รู้สึกนั่งอยู่บนเตียงหลังจากที่นอนลง
อาการเวียนหัวและอาการเวียนหัวแบบบ้านหมุน เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease)โรคนี้เป็นที่มีความผิดปกติทางด้านหู ซึ่งมีน้ำในหูมากผิดปกติ เกี่ยวข้องกับความแน่นของหู สูญเสียการได้ยินและทำให้หูอื้อ และอีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ในอาการเวียนหัวและอาการเวียนหัวแบบบ้านหมุน คือ การมีเนื้องอกที่ประสาทหู ซึ่งเป็นเนื้องอกที่เกิดในระบบประสาทภายในของหูที่เชื่อมโยงไปยังสมอง
บางสาเหตุที่เป็นไปได้ในอาการเวียนหัวมีดังนี้:
- อาการหูอักเสบ
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (น้ำตาลในเลือดต่ำ)
- โรคโลหิตจาง (ธาตุเหล็กต่ำ)
- ความดันโลหิตลดลงอย่างฉับพลัน
- อาการเมาในยานพาหนะต่างๆ
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- เกิดความวิตกกังวลที่ผิดปกติ(anxiety)
- ปริมาณเลือดลดลง
- ภาวะขาดน้ำ(dyhydration)
- การออกกำลังกายหักโหมเกินไป
- อาการฮีทสโตรกหรืออากาศที่ร้อนเกินไป
อาการเวียนหัวที่เกิดจากเส้นเลือในสมองตีบ โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง(brain tumor) หรืออาการทางสมองอื่นๆ นั้นเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยในอาการเวียนหัว
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dizziness/symptoms-causes/syc-20371787
https://www.webmd.com/brain/dizziness-vertigo
https://my.clevelandclinic.org/health/symptoms/6422-dizziness/possible-causes
วิธีการรักษาอาการเวียนหัว
การรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ มุ่งไปที่สาเหตุพื้นฐาน การรักษาส่วนใหญ่ก็เป็นการแก้เวียนหัวที่สามารถรักษาได้ที่บ้านและรักษาโดยการใช้ยาแก้เวียนหัว ซึ่งควบคุมอาการเวียนหัวได้ ตัวอย่างเช่น:
- หากมีสาเหตุมาจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากันสามารถรักษาได้โดยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีเกลือต่ำ หรือการฉีดยาเข้าไปในทางหูส่วนกลาง หรือการผ่าตัดหูที่เส้นประสาทชั้นใน
- หากมีสาเหตุมาจากปัญหาหูชั้นในอาจสามารถรักษาโดยการใช้ยาแก้เวียนหัว ซึ่งสามารถช่วยควบคุมความสมดุลในร่างกายได้
- BPV สามารภแก้ปัญหาได้ด้วยการรักษาที่สามารถบรรเทาอาการให้ลดลง การผ่าตัดเป็นทางเลือกสำหรับคนที่รักษาแบบอื่นมาแล้วไม่ได้ผล
- หากมีสาเหตุมาจากโรคไมเกรนสามารถรักษาได้โดยการใช้ยา และการเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่นการเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน
- การใช้ยาและเทคนิคการกำจัดความวิตกกังวล ช่วยให้อาการวิตกกังวลที่ผิดปกตินั้นลดลงได้
- การดื่มน้ำมากๆ สามารถช่วยให้อาการเวียนหัวที่เกิดจาการออกำลังกายที่หนักเกินไป หรือภาวะการขาดน้ำนั้นหายไปได้
สิ่งที่สามารถทำได้เมื่อเกิดอาการเวียนศีรษะ
หากคุณมีอาการเวียนศีรษะแบบเรื้อรัง การแก้เวียนหัวเหล่านี้สามารถใช้แก้อาการเวียนหัวได้ดังนี้:
- นั่งหรือพักผ่อนสักพักทันที เมื่อคุณมีอาการเวียนหัว จนกระทั่งอาการเหล่านั้นหายไป การแก้เวียนหัววิธีนี้สามารถป้องกันการสูญเสียสมดุลในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นได้
- การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว นอนพักผ่อนคืนละ 7 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น และควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ตึงเครียด
- หลีกเลี่ยงการขับรถหรือการใช้เครื่องจักรที่ทำงานหนัก หากมีอาการเวียนศีรษะหลายครั้งโดยที่ไม่มีอการเตือน
- ทำกิจกรรมที่ช่วยปรับสมดุลในร่างกายเช่น การออกกำลังกายแบบโยคะ และ การรำมวยไทเก๊ก
- ระวังการเปลี่ยนท่าทางโดยฉับพลัน
- หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์และบุหรี่ ซึ่งการใช้ของเหล่านี้ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะที่แย่ลงได้
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีผักและผลไม้ และโปรตีนที่ไขมันน้อย ช่วยลดอาการเวียนศีรษะได้
- หากคุณสงสัยว่าอาการเวียนศีรษะที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการใช้ยา ควรพบและปรึกษาแพทย์ เพื่อลดขนาดยาลง หรือเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นที่ดีกว่า
- รับประทานยาที่ขายตามร้านยา เช่นยาเมคลิซิน (ยาแก้เวียนหัว) หรือ ยาต้านฮีสตามีน หากคุณมีอาการคลื่นไส้ร่วมกับอาการเวียนศีรษะ ซึ่งยาเหล่านี้ทำให้มีอาการง่วงซึม ดังนั้นต้องการทำงาน อย่าใช้ยาเหล่านี้โดยเด็ดขาด
- พักผ่อนในอากาศที่เย็นสบายและหากอาการวิงเวียนศีรษะนั้นเกิดจากการขาดน้ำ หรืออากาศที่ร้อนเกินไป ให้ดื่มน้ำตามเข้าไปมาก แต่อย่ามากจนเกินไป
หากคุณมีอาการเวียนศีรษะที่ขั้นรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ยาแก้เวียนหัว
Cinnarizine (ซินนาริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้หรือยาแก้วิงเวียนศีรษะ ใช้รักษาอาการเวียนหัว ความผิดปกติในการทรงตัว คลื่นไส้ เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง และอาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาโดยเฉพาะหากมีอาการแพ้ยาควรหลีกเลี่ยง
สถิติการเวียนศีรษะในประเทศไทย
สถิตินี้ได้มาจากหัวข้อ เวียนศีรษะ เสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุวัจนา อธิภาส ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีการวิจัยดังต่อไปนี้ ในเรื่องอาการเวียนศีรษะในผู้สูงอายุโดยศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุขและคณะ จากภาค วิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อ พ.ศ. 2543 พบว่าในจำนวนผู้ สูงอายุ1,565 ราย มีผู้ที่เคยมีอาการเวียนศีรษะหรือเสียการทรงตัวภายในระยะเวลา 6 เดือนจำนวน 625 ราย (ประมาณร้อยละ 40) โดยมีอาการต่างๆ4 ได้แก่ มึนๆ หวิวๆ คล้ายจะเป็นลม ร้อยละ 51 เสียการทรงตัว ร้อยละ 29 เวียนศีรษะบ้านหมุน ร้อยละ 23.6 และพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 56.4
การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจัดเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 5 ในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีโดย2 ใน 3 เกิดจากการพลัดตกหกล้มซึ่งพบได้บ่อยว่าเกิดจากอาการมึนงงหรือวิงเวียน5ดังนั้น อาการมึนงง อาการเวียนศีรษะจึงเป็นปัญหาของผู้สูงอายุที่พบได้เสมอในเวชปฏิบัติทั่วไปและนำมาซึ่งปัญหา ต่างๆ เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้าเก็บตัวไม่กล้าเข้าสังคม ไปจนถึงการเกิดอันตรายรุนแรงได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dizziness/symptoms-causes/syc-20371787
https://www.webmd.com/brain/dizziness-vertigo
https://www.nhs.uk/conditions/dizziness/
https://medlineplus.gov/dizzinessandvertigo.html
No Responses