แลนโซพราโซล (lansoprazole) เป็นยาในกลุ่มยับยั้งการหลั่งกรดกลุ่มยับยั้งการปั๊มโปรตอน (proton pump inhibitors หรือ PPIs) ทำงานโดยการลดปริมาณของกรดที่กระเพาะอาหารผลิตขึ้น ใช้สำหรับรักษาสภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ใช้รักษาปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและหลอดอาหารบางประเภท เช่น โรคกรดไหลย้อน หรือมีแผลเปื่อย แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs รักษาโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รักษาภาวะที่กระเพาะอาหารหลั่งกรดมาก ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก กลืนลำบาก และอาการไอเป็นประจำ ช่วยฟื้นฟูความเสียหายจากกรดในกระเพาะอาหารและหลอดลม ช่วยป้องกันการเกิดแผล และอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร
การใช้ยา lansoprazole
โดยปกติให้รับประทานยาก่อนอาหารวันละครั้ง ขนาดยาและระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา โดยใช้มือแห้งจับยานี้ วางยาบนลิ้นแล้วปล่อยให้ละลายโดยใช้เวลาน้อยกว่า 1 นาที กลืนยานี้พร้อมน้ำหรือกลืนยาอย่างเดียวก็ได้ อย่าบด เคี้ยว หรือหักเม็ดยากลืนยาทั้งเม็ด ห้ามบดหรือเคี้ยว หากกลืนยาลำบากให้นำผงยาในแคปซูลไปผสมน้ำผลไม้หรือโยเกิร์ตดื่มแทน ซึ่งปริมาณยาสำหรับใช้รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้รับประทานวันละ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้งเป็นเวลา 10-14 วัน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา lansoprazole
ผลข้างเคียงทั่วไป
- ท้องผูก
- ท้องร่วง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ
- มึนงง
- เกิดผื่นหรืออาการคันที่ผิวหนัง
- ปวดท้อง
- เพิ่มความอยากอาหารหรือเบื่ออาหาร
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- กระวนกระวาย
- มีอาการคล้ายไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่
- ไอมากขึ้น
- มีอาการซึมเศร้า
- เลือดออกจากทวารหนัก
- เลือดออกมากผิดปกติหรือเกิดจ้ำเลือด
ผลข้างเคียงรุนแรง
- มีอาการผื่นลมพิษ หายใจติดขัดลำบาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอบวม ซึ่งเป็นผลจากการแพ้ยา
- ไอหรือสำลัก เสียงแหบ
- หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดปกติหรือเต้นผิดจังหวะ
- เหนื่อยง่าย
- มึนงง สับสน
- กล้ามเนื้อกระตุก
- เป็นตะคริว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีไข้
- ท้องร่วง
- ชัก
- มีสัญญาณของโรคลูปัส เช่น ผดผื่นที่จมูก ผดผื่นที่แก้ม อาการปวดข้อต่อ
- อาการแสบร้อนกลางอกพร้อมกับอาการหน้ามืด เหงื่อออก หรือวิงเวียน
- อาการปวดหน้าอก กราม แขน หรือไหล่
- น้ำหนักลดผิดปกติ
รูปแบบของยา lansoprazole
- ยาเม็ดแตกตัว
- ยาแคปซูลแบบออกฤทธิ์ช้า
- ยาแขวนตะกอน
- ยาผงผสม
- ยาผงสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
- ยาแกรนูลคืนรูป
ข้อระมัดระวังในการใช้ยา lansoprazole
- สอบถามแพทย์สำหรับวิธีการผสมยาและให้ยาอย่างถูกต้องหากต้องการรับยาผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหาร
- หากจำเป็นต้องรับประทาน sucralfate ต้องรับประทานหลังจากรับประทาน lansoprazole ไปแล้วอย่างน้อย 30 นาที
- ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
- ถึงแม้จะหายดีแล้วแต่ควรใช้ยาจนครบกำหนดการรักษา
- แจ้งแพทย์รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
- การใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลข้างเคียง
- หากเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรียหรือสภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องจำกัดการบริโภคน้ำตาลเทียมหรือสารฟีนิลอะลานีนอย่างเข้มงวด ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างปลอดภัย เนื่องจากยา lansoprazole อาจมีส่วนผสมของน้ำตาลเทียม
- หากใช้ยา lansoprazole เป็นเวลานานในผู้สูงอายุอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกหัก
- แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่ใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่ซื้อเอง วิตามิน และสมุนไพรต่างๆ ก่อนการผ่าตัด
- ควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นในช่วงตั้งครรภ์
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาหากต้องให้นมบุตร
- ควรปรึกษาแพทย์หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เพราะอาการโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีอาการจุกเสียดท้องเหมือนกัน
- หลังใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน อาจทำให้เกิดภาวะแมกนีเซี่ยมต่ำซึ่งทำให้กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นผิดปกติ และชัก
- แจ้งแพทย์หากแพ้ยา หรือสารประกอบในยา
- แจ้งแพทย์หากกำลังใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ampicillin ยารักษาโรคหัวใจเช่น digoxin , diuretics ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านไวรัส ธาตุเหล็ก ยาขยายหลอดลม ยารักษาเชื้อรา ยากดภูมิคุ้มกัน
- เมื่อมีการปรับยา ควรมีการเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา
- แจ้งแพทย์หากเคยมีภาวะแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำ หรือเป็นโรคตับ
- ควรปรึกษาแพทย์หากอายุมากกว่า 50 ปี เนื่องจากการใช้ยาทำให้เสี่ยงต่อการเกิดท้องร่วง และกระดูกหัก
- แจ้งแพทย์หากเป็นโรค phenylketonuria
- แจ้งแพทย์ทันทีหากมีอาการหน้ามืด เหงื่อออก อาการจุกหน้าอก ร้าวไหล่และแขน เพราะอาจเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- แจ้งแพทย์หากหายใจเหนื่อย หรือหายใจเสียงดังหวีด เพราะอาจเป็นโรคหัวใจหรือโรคหอบหืด
- แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกเวลากลืน กลืนอาหารลำบาก น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ ท่านอาจจะเป็นโรคมะเร็ง
- แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์เสมอ โดยเฉพาะหากเป็นโรคตับ หรือโรคลูปัส
- เมื่อลืมรับประทานยาให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้ถึงมื้อต่อไปให้ข้ามไปรับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาดยาปกติ
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อใช้ยา เนื่องจากอาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง
การเก็บรักษายา lansoprazole
ควรเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และเก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ไม่ให้แสงแดดส่องถึงและไม่ให้โดนความชื้น ไม่ควรเก็บในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็งเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียดเนื่องจากยาแลนโซพราโซลบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เมื่อยาหมดอายุหรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาอย่างถูกวิธี ไม่ควรทิ้งยาแลนโซพราโซลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรสอบถามเภสัชกรถึงวิธีการกำจัดยาอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
ลิงก์ที่ใช้
https://hellokhunmor.com/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5-lansoprazole/
https://healthythai.online/drug/lansoprazole
https://www.siamhealth.net/public_html/medication/gatro/Lansoprazole.html
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/463/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD/
No Responses