warfarin คือยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือเรียกว่ายาสลายลิ่มเลือด ใช้ลดการแข็งตัวของเลือด ใช้รักษาและป้องกันเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจ หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ทางแพทย์
ข้อบ่งการใช้ยาวาร์ฟาริน ที่สำคัญ
- หลังศัลยกรรมใส่ลิ้นหัวใจเทียม
- โรคลิ้นหัวใจรูมาติค (RHD)
- ภาวะหัวใจเต้นไม่ถูกจังหวะ (AF)
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
- ปัญหาเส้นเลือดในปอด
- ปัญหาเส้นเลือดแดงบริเวณแขน ขา หรือเส้นเลือดดำใหญ่เกิดการอุดตันจากลิ่มเลือด
- มีประวัติเส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด
- ภาวะการแข็งตัวของเลือดไม่เป็นปกติ
คำเตือนการใช้ยาวาร์ฟาริน
หลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เมื่อมีภาวะเลือดออกผิดปกติ มีความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด มีเลือดออกมากับปัสสาวะหรืออุจจาระอย่างผิดปกติ มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร มีภาวะความดันโลหิตสูงผิดปกติ ภาวะติดเชื้อของเยื่อบุหัวใจ มีเลือดออกในสมอง เพิ่งรับการศัลยกรรมรักษามาไม่น่า หรือกำลังจะเข้ารับการทำศัลยกรรม หรือกำลังจะเจาะน้ำไขสันหลัง
การใช้ยา ต้องทำเป็นกิจวัตร ตรงเวลาทุกวัน
ห้ามใช้ยานี้กับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ยา warfarin จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกได้ง่ายขึ้น อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต จำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบกลไกการแข็งตัวของเลือด หากเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุด ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที รวมทั้งหากพบว่ามีเลือดปะปนมากับปัสสาวะ ปัสสาวะกลายเป็นสีดำหรือสีเลือด ไอเป็นเลือดหรืออาเจียนลักษณะคล้ายกากกาแฟ
ยาบางชนิดเมื่อใช้ร่วมกับยาวาร์ฟารินก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ จึงต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ทั้งหมด
ยาชนิดนี้ทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น จึงต้องแจ้งแพทย์ หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้
- มีปัญหาหรือพบความผิดปกติในภาวะที่เลือดออก
- ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจระดับรุนแรง
- โรคตับ หรือโรคไต
- มะเร็ง
- โรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดในสมอง
- มีประวัติเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้
- เคยเข้ารับการผ่าตัด หรือประสบเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ หรือผ่านการฉีดยาและวัคซีนใด ๆ มาก่อน
- อายุ 65 ปี ขึ้นไป
- เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
อาหารกับยาสลายลิ่มเลือด
อาหารบางชนิดอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา การรับประทานร่วมกันในปริมาณมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์และนำไปสู่การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น อาหารที่มีวิตามินเคสูงมักส่งผลลดฤทธิ์ของยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพป้องกันการเกิดลิ่มเลือดลดลง
อาหารที่มีวิตามินอีสูงก็ส่งผลให้ยา warfarin กลไกการออกฤทธิ์รุนแรงขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเสี่ยงที่จะมีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ หากรุนแรงอาจส่งผลต่ออวัยะสำคัญอย่างสมองได้ และมีความเสี่ยงต่อชีวิตได้
ผู้ป่วยที่รับประทานยาชนิดนี้จึงต้องพิจารณาเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสม โดยไม่ได้มีข้อห้ามการรับประทานอย่างเคร่งครัด เพียงแนะนำให้รับประทานปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น
กลุ่มอาหารที่มีผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยาวอร์ฟาริน ได้แก่
- อาหารที่มีวิตามินเคสูง เช่นชาเขียว ผักใบเขียว แตงกวา (พร้อมเปลือก) และผลไม้ตระกูลเบอรรี่
- อาหารที่มีวิตามินอีสูง ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันตับปลา
- อาหารเสริมหรือสมุนไพรบางชนิด เช่นโสม ขิง แปะก๊วย กระเทียม
warfarin side effects คืออะไร
ติดต่อแพทย์หากท่านมีภาวะฉุกเฉิน ดังนี้ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม ลิ้นบวม หรือคอบวม หรืออาการต่อไปนี้
- รู้สึกปวด บวม ร้อน ๆ หนาว ๆ ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง หรืออวัยวะในมีสีผิดปกติ
- เกิดอาการแบบเฉียบพลันหรือรุนแรง ได้แก่ เจ็บขาหรือเท้า มีแผลที่เท้า นิ้วเท้าหรือนิ้วมือกลายเป็นสีม่วง
- ปวดหัวเฉียบพลัน เวียนหัวหรืออ่อนแรง
- เกิดรอยช้ำหรือมีเลือดออกง่าย (เลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟัน) หรือเกิดจุดสีแดงหรือม่วงบริเวณใต้ผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระหรือปัสสาวะมีเลือดปะปนออกมา
- เวลาเกิดบาดแผลจะมีเลือดไหลไม่หยุด รวมทั้งแผลจากการฉีดยา
- ผิวซีด รู้สึกใจหวิว หรือหายใจถี่ ๆ หัวใจเต้นเร็ว และมีปัญหาเมื่อต้องใช้สมาธิ
- ปัสสาวะมีสีเข้ม มีอาการดีซ่าน
- ปัสสาวะได้เล็กน้อยหรือปัสสาวะไม่ค่อยออก
- มีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีอาการปวดท้อง บริเวณหลังหรือสีข้าง
ผลข้างเคียงของยาวาร์ฟารินที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องบ้างเล็กน้อย
- ท้องอืด
- การรับรู้รสชาติของอาหารไม่ปกติ
อย่างไรก็ดียังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุเอาไว้นี้ เมื่อผู้ป่วยพบว่าความผิดปกติหรือผลข้างเคียงใด ๆ ควรไปแจ้งแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาทางแก้ไขต่อไป
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/medicines/warfarin/
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3949/warfarin-oral/details
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/deep-vein-thrombosis/in-depth/warfarin-side-effects/art-20047592
No Responses